แมงดาทะเล Horseshoe crab
>> YOUR LINK HERE: ___ http://youtube.com/watch?v=eLXj4x7UBbg
#แมงดาทะเล จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมอาร์โธรพอด โดยที่ไม่ใช่ครัสเตเชียน แต่เป็นเมอโรสโทมาทา อยู่ในอันดับ Xiphosura และวงศ์ Limulidae #แมงดา • แมงดาเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนจานคว่ำหรือชามขนาดใหญ่ มีกล้ามเนื้อทั้งสิ้น 750 มัด มีหัวใจที่ยาวเกือบเท่าขนาดลำตัว มีอัตราการเต้นอยู่ที่ 32 ครั้งต่อนาที (ช้ากว่ามนุษย์ถึงครึ่งหนึ่ง) มีรูเปิด 8 คู่ มีลิ้นเปิดปิดที่ควบคุมการไหลเวียนของเลือดให้ไหลจากเหงือกไปที่ขาและอวัยวะที่สำคัญ มีกระเพาะอาหารธรรมดา เมื่อเวลากินอาหาร แมงดาจะกินทางปากจากนั้นจึงผ่านไปที่สมองก่อนจะไปถึงกระเพาะ แล้วจึงค่อยขับถ่ายออกมา โดยมีอวัยวะเหมือนแขนชิ้นเล็ก ๆ ทำหน้าที่จับอาหารส่งเข้าสู่ปาก ซึ่งสัตว์จำพวกอื่นที่มีอวัยวะแบบเดียวกันนี้ คือ แมงมุมและแมงป่อง ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นเสมือนญาติใกล้เคียงที่สุด อาหารของแมงดามีด้วยกันหลากหลาย ทั้งสาหร่ายทะเลและสัตว์น้ำมีเปลือกขนาดเล็ก ๆ มีสมองที่มีรูปร่างเหมือนเฟือง ขาของแมงดามีความสามารถใช้สำหรับจับการเคลื่อนไหวหรือดมกลิ่นได้ มีดวงตาหลายคู่ที่ด้านข้างและด้านหลังที่เหมือนกับแมลง เห็นภาพได้เป็นสเกลหรือตาราง โดยมีเซลล์รับแสงอยู่ด้านใน ต่างจากสัตว์ทั่วไปที่มีอยู่ตรงกลาง แต่ตาหลักจะช่วยในการมองเห็นรูปร่างของแมงดาตัวอื่น ๆ ส่วนตัวผู้จะใช้ในการมองหาคู่ ตาคู่ที่เล็กมีความไวกว่า ใช้ตรวจจับรังสีต่าง ๆ ได้ เช่น อัลตราไวโอเล็ต รวมถึงแสงจันทร์เพราะเป็นสัตว์ที่มีวิถีชีวิตคู่กับน้ำขึ้นน้ำลง และยังมีตาที่อยู่ด้านท้องที่ตรวจจับทิศได้แม้ลำตัวจะหงายท้องก็ตาม และส่วนหางก็ยังตรวจจับแสงได้อีกด้วย แม้จะมีร่างกายดูเหมือนเทอะทะ แต่ทว่าร่างกายของแมงดากลับยืดหยุ่นได้เป็นอย่างดี[5] • แมงดาเพศเมียภายในร่างกายจะมีการผลิตไข่อยู่ตลอดเวลาเพื่อรอเวลาผสมพันธุ์และวางไข่ • ประโยชน์ • นอกจากจะมีประโยชน์ในการเป็นอาหารของมนุษย์แล้วยังพบว่า แมงดามีเลือดที่เป็นสีน้ำเงิน (Hemocyanin) เนื่องจากมีทองแดงผสมอยู่เป็นจำนวนมาก เซลล์เม็ดเลือดขาวของแมงดามีความไวมากในการตรวจจับเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ในวงการแพทย์ โดยการใช้เลือดแมงดาไปสกัดเป็นสารที่เรียกว่า Limulus amoebocyte lysate (LAL) ในการตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายที่อาจจะปนเปื้อนในวัคซีน, การผลิตยา หรือในอุปกรณ์การแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งหากมีจุลชีพก่อโรคแม้เพียงหนึ่งในล้านส่วน โปรตีนที่สกัดได้จากเลือดแมงดาจะเกิดการจับตัวกันเป็นก้อนทันทีเพื่อทำการปกป้องร่างกายไม่ให้เป็นอันตราย [11] และในปัจจุบันพบว่ามีการนำไปผสมลงในวัคซีนเพื่อนำไปสู่กระบวนการการให้วัคซีนแก่ผู้ป่วย[12] เชื่อว่าการที่เลือดของแมงดาเป็นสีน้ำเงินและสามารถตรวจจับแบคทีเรียได้เป็นอย่างดีนั้น เกิดจากการที่สภาพร่างกายของแมงดาวิวัฒนาการขึ้นมาเพราะสภาพของน้ำทะเลในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเต็มไปด้วยแบคทีเรีย โดยการดูดเลือดจากตัวแมงดานั้นไม่ได้ทำให้แมงดาตาย เพียงแต่แต่ละตัวใช้เลือดราวร้อยละ 30 เท่านั้น (มีการตายราวร้อยละ 15 หรือราว 40,000 ตัวต่อปี) โดยใช้เข็มจิ้มลงไปในส่วนที่เป็นหัวใจ แมงดาจะงอตัว ร่างกายจะผลิตเลือดใหม่ขึ้นทดแทนทันที แต่ก็ต้องใช้เวลานานหลายเดือนเช่นกันกว่าร่างกายจะผลิตเลือดขึ้นมาทดแทนได้เท่ากับปริมาณที่สูญเสียไป ซึ่ง LAL ที่ได้จากแมงดานั้นมีราคาซื้อขายที่แพงมาก และวิทยาการปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตสังเคราะห์หรือเลียนแบบได้ • Horseshoe crabs are marine and brackish water arthropods of the family Limulidae, suborder Xiphosurida, and order Xiphosura.[3] Their popular name is a misnomer, as they are not true crabs, nor even crustaceans, as crabs are, but a different order of arthropod. • Horseshoe crabs live primarily in and around shallow coastal waters on soft sandy or muddy bottoms. They tend to spawn in the intertidal zone at spring high tides.[4] They are commonly eaten in Asia, and used as fishing bait, in fertilizer and in science (especially Limulus amebocyte lysate). In recent years, population declines have occurred as a consequence of coastal habitat destruction and overharvesting.[3] Tetrodotoxin may be present in one horseshoe crab species, Carcinoscorpius rotundicauda.[5] • Given their origin 450 million years ago, horseshoe crabs are considered living fossils.[6] A 2019 molecular analysis places them as the sister group of Ricinulei within Arachnida
#############################